คำถามเรื่อง "อรรถรสของฟุตบอล" กับเทคโนโลยีลูกหนัง

คำถามเรื่อง "อรรถรสของฟุตบอล" กับเทคโนโลยีลูกหนัง

คำถามเรื่อง "อรรถรสของฟุตบอล" กับเทคโนโลยีลูกหนัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผ่านพ้นไปเรียบร้อยสำหรับฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกซึ่งขุนพลราชันชุดขาว “เรอัล มาดริด” ของ “ซีเนอดิน ซีดาน” ก็สามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นแชมป์สมัยที่ 2 ได้สำเร็จหลังจากที่เอาชนะ “คาชิมาร์ แอทเลอร์” ตัวแทนเจ้าภาพไป 4 ประตูต่อ 2

อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าสนใจสำหรับฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกครั้งนี้คงหนีไม่พ้นการนำเทคโนโลยี “ภาพช้า” (Video Technology) เข้ามาช่วยตัดสินเพื่อความถูกต้องในจังหวะทำประตู จุดโทษ หรือ ใบแดง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ โดยจะมีผู้ช่วยนั่งดูการถ่ายทอดสดในห้องควบคุมและสามารถติดต่อผู้ตัดสินได้โดยตรงทันทีเพื่อขจัดความผิดพลาดในจังหวะน่ากังขา

จริงๆเทคโนโลยีการใช้วิดิโอย้อนหลังมาช่วยในการตัดสินถือว่าไม่ใช้เทคโนโลยีใหม่แต่อย่างใดเพราะมีหลายชนิดกีฬาที่นำเทคโนโลยีนี้มาช่วยในการตัดสิน ทั้ง “เทนนิส” ที่มี “ฮอล์กอาย์” หรือ “อเมริกันฟุตบอล” ที่มีกฎการ “ชาเลนจ์” เข้ามาใช้ในการตัดสินถ้าการตัดสินของกรรมการถูกมองว่าน่าจะผิดพลาดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

Technololo22
อย่างไรก็ตามกับฟุตบอลเองที่หลายครั้งมีจังหวะผิดพลาดที่สามารถเปลี่ยนประวัติศาสตร์ลูกหนังได้ อย่างฟุตบอลโลกในปี 1966 ที่ลูกยิงของ “เจมฟ์ เฮิร์ต” ดูเหมือนจะชนคานแล้วตกลงบนเส้นแต่อาจจะไม่ข้ามเส้น แต่ผู้ตัดสินให้เป็นประตูส่งผลให้ “ทีมชาติอังกฤษ” เอาชนะ “เยอรมนี” ในรอบชิงชนะเลิศเป็นแชมป์โลกสมัยแรกและครั้งเดียว

หรือในฟุตบอลโลกปี 2010 ที่ “แฟรงค์ แลมพาร์ด” ยิงชนคานแล้วลูกตกลงบนเส้นหรืออาจจะข้ามเส้นไปแล้วในการเจอกับ “ทีมชาติเยอรมนี” รอบ 16 ทีมสุดท้าย แต่ผู้ตัดสินไม่เป่าให้เป็นประตู แต่ถ้าลูกนั้นผู้ตัดสินเป่าให้เป็นประตูก็ทำให้ “ทีมชาติอังกฤษ” ตีเสมอขุนพลเมืองเบียร์ 1-1 และทำให้ทีมไม่แพ้ 1-4 จนต้องตกรอบ

มาฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกครั้งนี้ ไม่มีข้อกังขาใดใดกับขุนพลราชันชุดขาวที่เป็นแชมป์ เพราะเทคโนโลยีนี้แต่ก็มีการตั้งคำถามว่า “อรรถรส” ของฟุตบอลบางอย่างหายไปหรือเปล่า เพราะต้องยอมรับว่า “ความผิดพลาด” ของกรรมการจากอดีตถึงปัจจุบันมีส่วนทำให้เกิดความรู้สึก “ดราม่า” ในเกมกีฬาของมวลมหาชนมนุษยชาติ

Technololo33

แน่นอนว่าหลายคนไม่เห็นด้วยกับการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในเกมลูกหนัง เช่น “เซร์คิโอ รามอส” ของเรอัล มาดริด ที่มองว่าการที่ต้องใช้เทคโนโลยีนี้ส่งผลให้ต้องหยุดเกมเป็นเวลานานจนอาจจะทำให้ความต่อเนื่องของเกมหายไป แต่อีกด้านนึง “จานนี อินฟาติโน่” เห็นด้วยกลับการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ด้วยเหตุผลที่ว่าทำให้เกมฟุตบอลมีความถูกต้อง แม่นยำ และโปร่งใสมากกว่าเดิม

ถึงตอนนี้เชื่อว่าคงมีคำถามในหัวว่า “เทคโนโลยีภาพช้า” นั้นดีหรือเปล่า ซึ่งในแง่ความยุติธรรมและความถูกต้องคงไม่มีใครสงสัย แต่กลับบางคนที่ให้คำนิยามว่า “ฟุตบอลคือเกมชีวิต” ที่บางครั้งก็ไม่มีอะไรยุติธรรมไปซะทุกอย่างคงต้องอดเสพย์อรรถรสของน้ำตาจากความผิดหวังที่มาจากความผิดพลาด

สุดท้ายถ้าเกิด “เทคโนโลยีภาพช้า” มาช่วยในการตัดสินถูกนำมาใช้จริงในบรรดาลีกใหญ่ของยุโรปหรือรายการอย่าง “ยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก” คนที่ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุดคงเป็นคนที่ชมฟุตบอลอย่างเราๆท่านๆที่ถือว่าเป็นหนึ่งในมหาชนที่เสพย์เกมลูกหนังตลอดชีวิตครับ

โดย แบงค์ พิพัช

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook