กกท.วางกฎเหล็กโค้ชไร้ผลงานโดนเชือด

กกท.วางกฎเหล็กโค้ชไร้ผลงานโดนเชือด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายสกล วรรณพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เป็นประธานในการประชุมปฐมนิเทศผู้ฝึกสอนกีฬา โครงการจ้างผู้ฝึกสอนเพื่อเตรียมนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีงบประมาณ 2553 ที่โรงแรมอเล็กซานเดอร์ กรุงเทพฯ เมื่อ 5 ม.ค. โดยการปฐมนิเทศผู้ฝึกสอนในโครงการจ้างผู้ฝึกสอน เพื่อเตรียมนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีงบประมาณ 2553 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ผู้เข้าร่วมการปฐมนิเทศผู้ฝึกสอนได้ทราบถึงนโยบาย แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับข้อตกลงที่ผู้ฝึกสอนจะต้องถือปฏิบัติตามสัญญาว่าจ้างกับ กกท. เช่น การทำวีซ่า, เวิร์ค เพอร์มิต (ใบอนุญาตทำงาน) และขั้นตอนการเบิกจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ (การประกันสุขภาพ สำหรับผู้ฝึกสอนต่างประเทศ และประกันอุบัติเหตุ สำหรับผู้ฝึกสอนชาวไทย) โดยได้เชิญผู้ฝึกสอนชาวไทย, ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน, ผู้ฝึกสอนชาวต่างประเทศ, ล่าม และเจ้าหน้าที่สมาคมกีฬา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกสมาคมกีฬา ที่อยู่ในโครงการจ้างผู้ฝึกสอน จำนวน 46 สมาคมกีฬา รวมทั้งสิ้น 200 คน เข้าร่วม ประกอบด้วย ผู้ฝึกสอนชาวไทยและผู้ช่วยผู้ฝึกสอน จำนวน 88 คน, ผู้ฝึกสอนต่างะล่าม จำนวน 36 คน และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สมาคมกีฬา ทั้ง 46 สมาคม จำนวน 76 คน

นายสกล กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการจ้างผู้ฝึกสอน เพื่อเตรียมนักกีฬาสู่ความเป็นเลิศ มีขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาทีมชาติไทยและเยาวชนทีมชาติไทย ในการเข้าร่วมการแข่งขันในรายการต่าง ๆ และเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการเตรียมนักกีฬาทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ อาทิ โอลิมปิกเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์ และซีเกมส์ เป็นต้น ซึ่งผู้ฝึกสอนต่างประเทศ จะต้องปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับสมาคมกีฬา ดังนี้ 1.จัดทำแผนการฝึกซ้อมในการพัฒนากีฬา ในชนิดกีฬาที่ตนรับผิดชอบเสนอต่อผู้ว่าจ้างทุก ๆ เดือน เพื่อใช้เป็นแนวทางที่ผู้ว่าจ้างจะได้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินการและการพัฒนากีฬาในแต่ละชนิดกีฬานั้น ๆ 2.ให้ความรู้ความสามารถทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเต็มที่ในการทำการฝึกซ้อมให้กับนักกีฬา เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างเต็มความสามารถ 3.มีภาระ หน้าที่ที่จะต้องทำงานร่วมกับผู้ฝึกสอนชาวไทย ในการให้คำแนะนำการวางแผนการฝึกซ้อม พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการฝึกสอนและถ่ายทอดเทคนิคต่าง ๆ ให้กับผู้ฝึกสทยอย่างใกล้ชิด

4.ฝึกสอนนักกีฬารุ่นใหม่ ๆ เพื่อสรรหาและคัดเลือกตัวแทนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันให้มีจำนวนมากขึ้น พร้อมทั้งให้การเสนอแนะต่อสมาคมกีฬา ในการพัฒนากีฬาชนิดนั้น ๆ ให้มีมาตรฐานการเล่นที่ดี ขึ้น 5.ให้ความร่วมมือในการดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ว่าจ้าง 6.ประเมินและรายงานผลการพัฒนาของนักกีฬา ตลอดจนปัญหา อุปสรรค ข้อแนะนำต่าง ๆ เสนอต่อผู้ว่าจ้างทุก ๆ เดือน อาทิ ความเหมาะสมของสนามกีฬาที่ใช้ในการฝึกซ้อม และ 7.ในกรณีที่มีภารกิจการปฏิบัติงาน นอกเหนือจากที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ให้ดำเนินการแจ้งและ ขออนุญาตจากผู้ว่าจ้างล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง อย่างไรก็ตาม ได้มีการตั้งคณะกรรมการประเมินผลงานของผู้ฝึกสอน เพื่อติดตาม สังเกตการณ์และรายงานผลการปฏิบัติงาน ถ้าหากผู้ฝึกสอนมีผลงานที่ไม่ดี ไม่เป็นที่ประจักษ์ก็จะแจ้งกลับสมาคมกีฬานั้น ๆ เพื่อพิจารณาจ้างผู้ฝึกสอนอีกครั้ง.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook