เก็บตก! 7 สิ่งที่เราเรียนรู้ในเกม "ปีศาจแดง" พ่าย "เซบีย่า" คาบ้าน

เก็บตก! 7 สิ่งที่เราเรียนรู้ในเกม "ปีศาจแดง" พ่าย "เซบีย่า" คาบ้าน

เก็บตก! 7 สิ่งที่เราเรียนรู้ในเกม "ปีศาจแดง" พ่าย "เซบีย่า" คาบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ปีศาจแดง" แมนฯ ยูไนเต็ด เปิดบ้านแพ้ให้กับ เซบีย่า 1-2 ทำให้รวมผลสองนัดต้องกระเด็นตกรอบไปด้วยสกอร์ดังกล่าวในการแข่งขันฟุตบอล ยูฟ่า ชปล. รอบ 16 ทีม นัดสองวันอังคารที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา

7. สตาร์ในแนวรับOLI SCARFF/GettyImages

เคลเมงต์ เลงเลย์ เซ็นเตอร์แบ็คของ เซบีย่า และ เอริค ไบยี ปราการหลังของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตีคู่มาเบียดแย่งกันเป็นพระเอกของเกมนี้ เลงเลย์ ทำสถิติตัดบอลสำเร็จ 3 ครั้ง ขณะที่ ไบยี ก็ไม่แพ้กันเมื่อสามารถเอาชนะในการเข้าปะทะได้ 3 ครั้ง

ทว่าสุดท้ายกองหลังของ ปีศาจแดง ก็โดนความสดของ วิสซาม เบน เยดเดอร์ เล่นงาน ถูกกระชากหนีก่อนยิงประตูเบิกร่องให้กับ เซบีย่า หลังจากถูกเปลี่ยนตัวลงมาเพียง 2 นาที และกลายเป็น เลงเลต์ ที่สมหวังกับผลการแข่งขัน

6. ความแข็งแกร่งของ ลูกากูOLI SCARFF/GettyImages
ความบึกบึนของ ลูกากู ยังคงเป็นทีเด็ดของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แต่น่าเสียดายที่เขามาแผลงฤทธิ์ก็เมื่อสายเกินการเสียแล้ว

เขาเป็นผู้เล่น ผีแดง ที่สามารถเลี้ยงผ่านคู่ต่อสู้ได้มากที่สุด 5 ครั้ง และเอาชนะลูกกลางอากาศ 4 ครั้ง น้อยกว่าเพียง เฟลไลนี (5) และ เอ็นซองซี (7) เท่านั้น

การเอาชนะบอลในแดนหน้าของ ลูกากู ดูจะไม่มีประโยชน์กับทีมมากอย่างที่ควรจะเป็นเมื่อแนวรุกตัวจี๊ดทั้ง อเล็กซิส ซานเชซ กับ มาร์คัส แรชฟอร์ด ถ่างออกไปอยู่ไกลจนเกินไปที่ริมเส้น ขณะที่ เฟลไลนี ที่ไปปักหลักในแดนหน้าก็ไม่มีความเร็วมากพอที่จะสนับสนุน ลูกากู ได้

5. ความเชื่องช้าของ มาติชClive Mason/GettyImages
ไม่ปฎิเสธถึงเซนส์ในเกมรับและความแข็งแกร่งของ เนมานยา มาติช แต่ความเร็วของเขาที่ถดถอยลงตามวัยคือสิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับมิดฟิลด์ชาว เซอร์เบีย รายนี้

ปัญหาดังกล่าวทำให้เขาต้องการคู่หูที่มีความรวดเร็วในแดนกลางและค้องคอยประสานงานกับเขาอย่างต่อเนื่อง ช่องโหว่จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อ ปีศาจแดง ถูกโจมตีในจังหวะสวนกลับและพาร์ทเนอร์ของเขาไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถจะช่วยป้องกันได้ (เฟลไลนี ในครึ่งแรก และ ป็อกบา ในครึ่งชั่วโมงสุดท้าย)

ซึ่งจังหวะเคาท์เตอร์แอทแทคของทีมเยือนก็ทำให้พวกเขามีลุ้นตั้งแต่ครึ่งแรกเหมือนกันก่อนจะมาได้ประตูจากการตัดบอลได้ที่กลางสนามและลูกเตะมุมในครึ่งหลัง

4. ความไม่เด็ดขาดของ เซบีย่าMichael Regan/GettyImages
เซบีย่า  มีโอกาสยิงมากถึง 10 ครั้งตั้งแต่ 45 นาทีแรก แต่เข้ากรอบเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น โชคร้ายสำหรับเจ้าบ้านที่พวกเขามีตัวสำรองอย่าง วิสซาม เบน เยดเดอร์ ที่สามารถลงมาเปลี่ยนเกมได้ และทำ 2 ประตูให้กับทีมเอาชนะไปในที่สุด และน่าเสียดายที่ แมนฯ ยูไนเต็ด ไม่อาจฉวยโอกาสจากความไม่เด็ดขาดตั้งแต่ครึ่งแรกนั้นเอาไว้ได้

3. บทบาทในเกมรุกและการเคลื่อนที่ของ เฟลไลนีOLI SCARFF/GettyImages
ดูเหมือนว่า มารูยาน เฟลไลนี จะถูก โฆเซ มูรินโญ กำชับให้เติมขึ้นไปอยู่ในแดนบนทุกครั้งยามที่ทีมจะเปิดเกมด้วยบอลไดเร็กต์จากแดนหลังขึ้นไปข้างหน้า สร้างสมดุลในแนวลึกโดยการยืนเหลื่อมกับ เจสซี ลินการ์ด ซึ่งแทบจะเป็น ลินการ์ด ที่ยืนต่ำกว่าเขาด้วยซ้ำเมื่อทีมตั้งเกมโดยการวางบอลยาวและหลายครั้งที่ดาวเตะ เบลเยียม เติมขึ้นไปปักหลักอยู่ในกรอบเขตโทษ

วิธีการดังกล่าวทำให้ทีมมีผู้เล่นตัวใหญ่ที่สามารถพักบอลได้ถึง 2 คนทั้ง เฟลไลนี และ ลูกากู ซึ่ง เฟลไลนี ก็สามารถใช้ความแข็งแกร่งของเขาสร้างประโยชน์ให้กับทีมได้เป็นอย่างมาก ส่วนเซนส์ในการยืนตำแหน่งของ ลินการ์ด รวมทั้งความสามารถในการไปกับบอลก็ทำให้เขาได้บอลพร้อมกับพื้นที่ว่างในแดนกลาง สามารถพาบอลด้วยตัวเองขึ้นไปยังพื้นที่อันตรายได้

2. ระเบิดเวลาในแดนกลางที่ไปลั่นในครึ่งหลังClive Mason/GettyImages

ในทางกลับกันจากข้อที่ 3 ก่อนหน้า การเคลื่อนที่ของ เฟลไลนี-ลินการ์ด จะเกิดปัญหาขึ้นทุกครั้งเมื่อพวกเขาไม่สามารถเก็บบอลในแดนหน้าหรือเอาชนะบอลจังหวะที่สองได้

มาติช ที่ยืนปักหลักอยู่หน้าแผงหลังไม่ได้มีความเร็วมากพอจะสามารถรับมือแนวรุกจอมเทคนิคของผู้มาเยือนได้ ขณะที่การยืนตำแหน่งแทนที่ เฟลไลนี ของ ลินการ์ด ก็ห่างไกลเกินไปที่จะสามารถช่วยอะไรได้ และผู้มาเยือนก็เตือนให้ ผีแดง เห็นตั้งแต่ครึ่งแรกแล้ว 1-2 ครั้ง รวมทั้งจังหวะสวนกลับตั้งแต่ต้นครึ่งหลัง

ป็อกบา ยิ่งลงมาทำให้ไทม์บอมบ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นจากการเล่นที่ดูจะไม่กระตือรือล้นเท่าที่ควรและการผ่านบอลอย่างสะเปะสะปะ

1. แท็คติกของ มูรินโญ และเครื่องหมายคำถามในตัว ป็อกบาOLI SCARFF/GettyImages
โฆเซ มูรินโญ พยายามให้ลูกทีมเล่นแบบเพลย์เซฟเกือบตลอดทั้งเกม กระทั่งเป็นฝ่ายเสียประตูไปก่อนในที่สุด

ฟูลแบ็คทั้งสองข้างของพวกเขาแทบจะไม่เติมขึ้นไปสนับสนุนเกมรุกเลยโดยอาศัยการวางบอลจากแนวลึกให้กับ ลูกากู และ เฟลไลนี ที่เติมขึ้นไปอยู่ข้างหน้า แนวทางดังกล่าวเกือบได้ผลจากการอาศัยความแข็งแกร่งของสองผู้เล่นดังกล่าว กระทั่งเขาตัดสินใจเปลี่ยน ปอล ป็อกบา ลงมาแทนดาวเตะ เบลเยียม

เกมในแดนกลางดูจะวูบวาบอยู่พักหนึ่งแต่ก็เป็นเพียงภาพลวงตาเมื่อแข้งชาว ฝรั่งเศส เล่นอย่างแทบจะไร้ความกระตือรือล้น จ่ายบอลง่ายๆ ผิดพลาดให้เห็นและมีปัญหาในการยืนตำแหน่งป้องกัน อีกทั้งยังเรียกได้ว่าไม่สามารถทำเกมบุกให้กับทีมได้เลย

น่าคิดเหมือนกันว่าหาก จ่ามู ตัดสินใจสั่งให้ทีมดาหน้าฆ่ามันตั้งแต่เสียงนกหวีดเริ่มเกมในขณะที่มีสองยักษ์ปักหลั่นอย่าง เฟลไลนี กับ ลูกากู ผลจะออกมาแตกต่างไปจากนี้หรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook