ยิงท้ายเกม กับรับแล้วโต้

ยิงท้ายเกม กับรับแล้วโต้

ยิงท้ายเกม กับรับแล้วโต้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ยูโร 2016” หนนี้มีหลากเรื่องหลายราวให้ได้หยิบยกมาพูดถึงกันในช่วงประมาณแมตช์สุดท้ายของแต่ละกลุ่มที่เกมในสนามทวีความดุเดือดมากขึ้น

ขณะที่นอกสนามยังเป็นอะไรที่ต้อง “ติดตาม” ตอนต่อไป


“ฮูลิแกน” และการจลาจล ไล่ตั้งแต่รัสเซีย, อังกฤษ, โครเอเชีย, ฮังการี, แฟนบอลท้องถิ่น ฯลฯ กลายเป็นเรื่องละเอียดอ่อนแซงหน้าปัญหาผู้ก่อการร้าย

เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานรักษาความปลอดภัยฝรั่งเศส หรือหน่วยเสริม เช่น จากอังกฤษ ยังคงไม่สามารถวางใจได้

เฉพาะอย่างยิ่ง หากฟุตบอลในสนามร้อนแรงขึ้น ๆ ผกผันกับจำนวนแมตช์ที่ลดน้อยลง แต่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ กว่าจะถึงนัดที่ 51 ของทัวร์นาเมนท์

ในส่วนเกมการแข่งขัน “แท็คติกส์” ทีมรองเน้นรับแล้วโต้ หรือรับแบบ “รถบัส 2 ชั้น” ในความหมายคือ ไลน์กองหลัง และไลน์มิดฟิลด์ รวมผู้รักษาประตูแล้ว 8 คนจะยืนหลังลูกบอล

คอยปกป้องประตู และรักษาเชฟการเล่นแบบมีระเบียบวินัยจนไม่ง่ายครับกับใคร หรือทีมใหญ่ในการเจาะประตู

ยิ่งหากไม่แน่จริง ปัญหาในการทำประตูจะเห็นเด่นชัดไม่ว่าจะ เยอรมัน, โปรตุเกส ไม่เว้นแม้แต่ฝรั่งเศสเองที่ล่าสุดหากจังหวะไม่เป็นใจจริงๆ ก็ยิงสวิสไม่ได้

นอกจากเรื่อง “แท็คติกส์” แล้วประเด็น “late goal” หรือการยิงประตูท้ายเกมเป็นอีกหัวข้อที่มีการพูดถึงเป็นวงกว้างเพราะความ “ดราม่า” ของช่วงเวลาที่เกิดประตู

กับจำนวนประตูมากมายที่เกิดขึ้นแบบเหลือเชื่อ

ทั้งที่เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า ช่วง 15 นาทีแรก และ 15 นาทีสุดท้ายของเกมการแข่งขันมีความสำคัญขนาดไหนสำหรับเกมฟุตบอล

ควร ไม่ควรจะเสียประตูในช่วงเวลาแบบนี้ไม่ได้

อย่างไรก็ดีครับ หากพิจารณา “ธรรมชาติ” ของการเสียประตูท้ายเกมในศึก “ยูโร” ครั้งนี้จะพบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ทีมรอง พยายาม “เอาคืน”

ทำประตูตีเสมอก่อนจะเปิดหลังบ้านให้โดนเจาะประตูเพิ่ม

โดยตัวเลขคือ 14 จาก 48 ประตูเกิดขึ้นมาจากการทำประตูหลังจากนาทีที่ 85 ซึ่งถือว่า มากที่สุดในประวัติศาสตร์ยูโร และใครจะบอกได้ครับว่า

ในอีกประมาณ 15 นัดบวก ๆ ที่เหลือจะอะไรเกิดขึ้นอีก

จะมี “ดราม่า” late goal เกิดขึ้นอีกกี่ครั้ง? ด้วยลักษณะอาการแบบใด?

เหตุผล วิเคราะห์ง่าย ๆ เพิ่มเติมจากการ “เอาคืน” ได้ว่า เกมรับช่วงใกล้หมดเวลาจะเริ่มอ่อนล้า พร้อม ๆ กับ “ความสด” ของตัวสำรองฝ่ายตรงข้ามที่บอกได้อีกเช่นกันว่า

“ยูโร 2016” ตัวสำรองสามารถทำประตูได้มากที่สุดเช่นกัน

เขียนถึงตรงนี้ ผมขออนุญาตเสริมว่า โดยหลักการ “เล่นรับ” แล้ว ฟุตบอลหากตั้งใจมาเน้นรับ “รถบัส 2 ชั้น” เป็นไลน์กองหลัง และกองกลางซ้อนกันดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

โอกาสจะ “โดนเจาะ” ประตูจะยากมาก เฉพาะอย่างยิ่งหากการ “ตั้งเชฟ” เซ็ตอัพฟอร์เมชั่นในเกมรับไม่ผิดเพี้ยนไปจากตำแหน่งที่ได้วางไว้ในสนามซ้อม

รวมถึง “หน้าที่” ได้รับมอบหมายของแต่ละคนได้รับการตอบสนองอย่างดี

จุดนี้นำมาซึ่งประเด็นที่ผมเขียนถึงการได้ประตูของเบลเยียมจากไอร์แลนด์ 3 ประตู หรือทำไมไอร์แลนด์จึงเสียถึง 3 เม็ดได้ภายใน 45 นาทีของครึ่งหลัง

นั่นเป็นเพราะ “ยักษ์เขียว” บุกขึ้นไปแล้วเสียการครองบอลง่ายก่อนโดนโต้กลับเร็วจนกลับไปรับไม่ทัน

การบุกแล้วเสียบอล คือ การบุกที่ไม่ได้จบ หรือบุกแล้วไม่ได้ยิง ไม่ว่าจะยิงแล้วออกหลัง ติดมือประตู ชนคาน ชนเสาฯลฯ ที่จะให้ดี คือ

ต้องจบจนเกิดการเริ่มเล่นใหม่ได้ (เตะจากเส้นประตู, ทุ่ม หรือนายทวารเป็นคนออกบอล)

อันจะทำให้สามารถกลับไปตั้งรับ “ตามเชฟ” รถบัส 2 ชั้นได้ทัน ยิ่งอีกฝ่ายมีนักเตะที่สามารถเลี้ยงกินคน หรือวิ่งนำทางได้ดีจนทำให้การ “โต้เร็ว” มีประสิทธิภาพด้วยแล้ว

ความ “คลาสสิค” ของการโต้กลับ เช่น เยอรมันโดย บาสเตียน ชไวสไตเกอร์ รับลูกเปิดเมซุส โอซิล กดชัย 2-0 เหนือยูเครน ย่อมหลีกเลี่ยงลำบาก

นั่นคือความน่าสนใจครับที่ “ทีมใหญ่” หากนำได้ก่อน และทีมรองเริ่มเปิดเกมบุกมากขึ้น

โอกาส “โต้สวย ๆ” จะเป็นของทีมใหญ่ทันที เพราะความสามารถตัวผู้เล่นสูงกว่า ตาม “สถิติ” ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้

แต่ “ทีมใหญ่” มีกุศโลบายที่ไม่สามารถเล่นรับแล้วโต้ได้ เพราะเป็นเรื่องศักดิ์ศรี กับความคาดหวัง

โดยหากทีมใหญ่เล่นเพื่อชนะ นั่นจะทำให้พวกเค้าน่ากลัวมาก เช่น อิตาลี ยามนี้ที่เป็นทีมใหญ่ทีมเดียวในความคิดของผมที่เล่น “เพื่อชนะ” โดยไม่สนใจรูปแบบ และวิธีการ

อิตาลีของ อันโตนิโอ คอนเต้ จึง “น่ากลัว” มาก และน่าสนใจยิ่งว่า ตอนเจอทีมใหญ่ในรอบน็อคเอ๊าท์ตั้งแต่ 16 ทีมขึ้นไป “กลยุทธ์” รับเหนียวแน่นแล้วโต้เร็ว

หรือเคาน์เตอร์แอตแทคจะได้รับผลลัพธ์อย่างไร และเกิดขึ้นตอนไหน? จะเป็นท้ายเกมอีกหรือไม่?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook