ไขกลไกเบื้องหลัง : มอเตอร์ไซค์บินได้บริษัทของ "เคซุเกะ ฮอนดะ" ทำงานอย่างไร?

ไขกลไกเบื้องหลัง : มอเตอร์ไซค์บินได้บริษัทของ "เคซุเกะ ฮอนดะ" ทำงานอย่างไร?

ไขกลไกเบื้องหลัง : มอเตอร์ไซค์บินได้บริษัทของ "เคซุเกะ ฮอนดะ" ทำงานอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"โลกอนาคตจะต้องมีรถบินได้ ที่สามารถปรับโหมดให้บินขึ้นจากรถติดบนถนน แล้วล่องลอยไปบนอากาศ".. อาจเป็นความฝันวัยเด็กของคุณที่รอคอยให้เกิดขึ้นจริงอยู่ในสักวัน

และฝันนั้นอาจอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป เมื่อ เคซุเกะ ฮอนดะ อดีตนักเตะทีมชาติญี่ปุ่น และบริษัท มิตซูบิชิ ได้ร่วมกันเป็นผู้สนับสนุน ALI Technologies บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่นที่เปิดตัวมอเตอร์ไซค์บินได้รุ่นแรกอย่าง "XTurismo Limited Edition" ซึ่งเปิดขายอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2021 แล้ว

ด้วยสนนราคา 680,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 22 ล้านบาท อากาศยานสำหรับนักซิ่งคันดังกล่าวสามารถขึ้นบินได้นานกว่า 40 นาที ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง จากการชาร์จไฟเพียงหนึ่งครั้ง ซึ่งอาจไม่ได้เร็วแรงเร้าใจขนาดนั้น แต่การบินขึ้นไปสู่ฟ้าก็ไม่ได้เป็นฟีเจอร์ที่รถธรรมดาทั่วไปสามารถทำได้ในสถานการณ์ปกติ (หรือถูกออกแบบมาให้ทำ) อยู่แล้ว

aแล้วเจ้ามอเตอร์ไซค์บินได้แบบนี้ มันมีกลไกการทำงานอย่างไรกันบ้างล่ะ?

เริ่มแรกเลย จากดีไซน์ที่ถูกเปิดตัวมานั้น เราจะเห็นได้ว่าตัวยานมีการติดตั้งใบพัดไว้อยู่อย่างน้อย 6 จุดด้วยกัน แบ่งเป็นใบพัดใหญ่บริเวณด้านหน้าและหลังของยาน พร้อมกับมีใบพัดขนาดเล็กประจำอยู่ทั้ง 4 มุม

แม้ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลออกมามากนัก แต่คาดว่าตัวใบพัดหลักทั้ง 2 จุดนี้จะถูกใช้เพื่อเป็นการสร้างแรงยก หรือ Lift ที่ทำให้ตัวมอเตอร์ไซค์คันนี้บินขึ้นและลงจอดได้ผ่านการปรับองศาของใบพัดที่อยู่ด้านล่างของเบาะคนขับ

การที่วัตถุต่างๆสามารถบินได้ หากไม่มีอภินิหารดุจหลุดออกมาจากโลก Sci-fi แล้ว พวกมันจำเป็นต้องสร้างแรงยกขึ้นมาให้ได้ โดยมีหลักของเบอร์นูลี่ (Bernoulli Principle) ที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและแรงดันในอากาศ ว่าถ้าความเร็วเพิ่มขึ้น แรงดันจะลดลง และในทางกลับกัน หากความเร็วลดลง แรงดันก็ย่อมเพิ่มขึ้น

zใบพัดของตัวยานจะต้องถูกออกแบบให้มีลักษณะโค้งที่ด้านบนและแบนราบตรงผิวด้านใต้ เพื่อให้อากาศไหลผ่านเหนือใบพัดได้มากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดแรงปฏิกิริยาจากการมีแรงดันอากาศน้อยกว่าบริเวณเหนือใบพัด จนทำให้ตัวมอเตอร์ไซค์สามารถลอยขึ้นได้ โดยหลักการดังกล่าวจะมีความคล้ายคลึงกันกับปีกของเครื่องบินและใบพัดของเฮลิคอปเตอร์นั่นเอง

ส่วนของใบพัดที่อยู่รอบข้างนั้น คาดว่ามีไว้เพื่อเป็นการปรับทิศทางระหว่างอยู่บนอากาศ เพื่อเลี้ยวไปในตำแหน่งที่ต้องการได้ โดยสามารถปรับองศาของใบพัดเพื่อให้ตัวยานสามารถหมุนไปยังทิศต่างๆจากการบังคับของคนขับ พร้อมกับมีรางเลื่อนคล้ายกับในสกีหิมะ เพื่อใช้เป็นแท่นรองรับน้ำหนักในการลงจอด

น่าเสียดายที่ในปัจจุบันมอเตอร์ไซค์บินได้ดังกล่าว จะยังคงถูกจำกัดไว้เพียงแค่การใช้ในสนามแข่งรถเท่านั้น เพราะนอกจากข้อกฎหมายในหลายประเทศแล้ว การนำอากาศยานมาบินในระยะความสูงที่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่อาจมีปัจจัยเรื่องความปั่นป่วนของกระแสลมด้วยแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นมาได้

xอย่างไรก็ตาม ไดซุเกะ คาตะโนะ (Daisuke Katano) ซีอีโอของบริษัท ALI Technologies ก็คาดหวังว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขา อาจเป็นประโยชน์ให้กับทีมกู้ภัยฉุกเฉินเพื่อนำไปใช้เข้าถึงในพื้นที่ห่างไกล หรือจุดที่ยานยนต์มีล้อทั่วไปไม่อาจเข้าถึงได้

ในตอนนี้ มอเตอร์ไซค์บินได้อาจเป็นเพียงนวัตกรรมแห่งอนาคตที่มีผู้คนเพียงหยิบมือเข้าถึงได้ แต่เมื่อเวลาผ่านล่วงเลยไป ควบคู่กับเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำขึ้นทุกวัน ก็คงอดคิดไม่ได้ว่าในสักวันหนึ่งเราอาจจะเลิกหัวเสียกับรถติดบนท้องถนน แล้วไปล่องลอยอยู่บนทางด่วนแห่งฟากฟ้ากันแล้ว

หรือเราอาจปวดหัวกับรถติดบนท้องฟ้ากันแทนก็เป็นได้…

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook