กว่าจะได้เหรียญทอง...กับทัพชินลงไทย

กว่าจะได้เหรียญทอง...กับทัพชินลงไทย

กว่าจะได้เหรียญทอง...กับทัพชินลงไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มิง-กะ-ลา-บา วันนี้เรามาสวัสดีเป็นภาษาเมียนมาร์กันนะคะ แหมม....ช่วงนี้ต้องหัดเรียนรู้ภาษาอาเซียน กันสักหน่อยเพื่อเข้าสู่สังคมประชาคมอาเซียน หรือ AEC ให้มันทันยุคทันสมัยกันสักหน่อย
 
อย่างที่ทราบกันดีคะ ช่วงนี้นอกจากการเมืองไทยที่น่าสนใจแล้ว กีฬาไทยก็น่าสนใจไม่แพ้กันที่ประชาชนคนไทยต้องจับจ้องกันไม่ได้ห่างก็เห็นจะเป็น กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 27 "
 
 
ทัพนักกีฬาทีมชาติไทยชุดสู้ศึกซีเกมส์ ประเภทกีฬา ชินลง คว้า 2 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน มาฝากคนไทยทั้งชาติ 
 
เนปิดอว์เกมส์ 2013" ที่เมียนมาร์ หรือ "พม่า" รับเป็นหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพ 11-22 ธ.ค.56 หลังจากไม่ได้จัดมาตั้งแต่กีฬาแหลมทองเมื่อ 44 ก่อนนู้น ก็จัดหนักจัดเต็มกันสักหน่อย ขนาดพิธีเปิดยังเล่นเข้าไป 4 ชั่วโมง สมควรแก่การรอคอยที่ยาวนานจริงๆ คะ สวยงามมาก ตื่นตาตื่นใจ
 
 
พิธีเปิด "เนปิดอว์เกมส์ 2013" ประเทศเมียนมาร์
 
ถ้าพูดถึงพม่าแล้วเป็นเพื่อนบ้านกับประเทศไทยเรามานาน แต่ก่อนหน้านี้ทางประวัติศาสตร์ที่ไทยก็เคยเสียกรุงให้กับพม่าถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ 2112 พม่าเข้าครองประเทศไทยอยู่ 15 ปี ช่วงนั้นพระนเรศวรเห็นสมควรจึงตัดไมตรี ประกาศเป็นเสรีที่เมืองแกลงในเวลาต่อมา ครั้งหลังนี่เกิดขึ้นใน พ.ศ 2310 คราวนี้นี่หนักหน่อยคะ วีรกรรมที่เกิดขึ้นต่อไทยและพม่าเยอะพอสมควร 
 
แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเนี่ย ไม่ได้เกี่ยวอะไรที่จะเล่าเรื่องกีฬาหรอกนะคะ เผื่อว่าลูกหลานหรือใครๆ จำไม่ได้ เลยมาเล่าสู่กันฟัง ทุกวันนี้เมียนมาร์ก็มีมิตรภาพที่ดีกับประเทศไทย ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่มนุษยชนแห่งโลกควรมีให้แก่กันเพื่อความสงบสุขคะ 
 
วันนี้เราจะมาพูดถึงกีฬาที่เชื่อว่า เมื่อ 8 วันก่อนหน้านี้ ไม่มีพี่ไทยหน้าไหนรู้จักแน่นอน นอกจากคนที่เกี่ยวข้องหรือมีญาติอยู่พม่า นั่นก็คือ "กีฬาชินลง" กีฬาชินลงคืออะไร "ชินลง" ก็คล้ายๆ กับกีฬาตะกร้อในบ้านเรานี่แหละคะ มีวง มีลอดห่วง ลูกชินลงทำมาจากหวาย ขนาดก็จะใหญ่กว่าลูกตะกร้อเล็กน้อย แต่การเล่นนี่เค้าบอกว่าทุกอาชีพในพม่านี่เล่นกันได้หมด เรียกว่าเป็นกีฬาพื้นบ้านที่ทุกบ้านต้องเล่นได้จริงๆ 
 
 
 
 
นี่ไงคะ ... ลูกชินลง ใหญ่กว่าตะกร้อ นิดนึงนะคะ
 
 
พวกคุณคือความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ
 
ดร.เฉลิมพงษ์ เฉลิมชิต ท่านเป็นผู้จัดการทีมชินลงทีมชายไทย ท่านได้ให้ข้อมูลดีๆ กับผู้เขียนในกีฬาชินลง ซึ่งถือว่ายังใหม่มากกับคนไทย ท่านกล่าวว่า "ชินลงนี่เป็นศาสตร์และศิลป์คล้ายกับตะกร้อไทย แต่การเล่นจะใช้ท่าที่ยากกว่าเพื่อวัดผล และถือว่าการแข่งขันชินลง พวกเราเริ่มจากศูนย์จริงๆ เพราะไม่มีใครรู้อะไรเลย อาศัยการดูศึกษาผ่านทางยูทูปที่พม่าเค้าเล่นกัน เราก็ลองผิดลองถูก ฝึกหัดฝึกซ้อมมาเรื่อยๆ เก็บตัวฝึกซ้อมอยู่ 5 เดือนด้วยกัน และเจ้าภาพก็ถือว่ามีความแข็งแกร่งเนื่องด้วยเป็นกีฬาพื้นบ้านของเค้าเอง แต่ว่า หลังจากนี้ก็ได้มีการพูดคุยกับมนตรีกีฬา ซึ่งก็อาจจะมีการบรรจุกีฬาชินลงนี้ในซีเกมส์ครั้งที่ 28 ที่สิงคโปร์ด้วย ส่วนนักกีฬาหลังจากนี้ก็จะพัฒนาสานต่อให้นักกีฬาไทยมีความเป็นเลิศในทุกๆด้าน เพื่อให้ก้าวสู่กีฬาสากลต่อไป"
 
คุณผู้อ่านคะ เห็นไหมคะ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ กับการเริ่มจากศูนย์ ที่ไม่รู้อะไรเลย จนก้าวมาสู่ความสำเร็จ กับเหรียญทองที่ได้รับ เกินเป้าหมายที่สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทยฯ ตั้งไว้เสียด้วยซ้ำแต่สิ่งที่สำคัญ จากกีฬาชินลงนี้ที่เห็นได้ชัด คือทำให้เราได้เห็นความพยายามของทัพนักกีฬาไทยจริงๆ คะที่มีความมุ่งมั่น แน่วแน่ ทำผลงานออกมาได้ชนะใจคนไทยเหลือเกิน ต้องขอบคุณจริงๆ นะคะ สำหรับของขวัญอันยิ่งใหญ่ที่มอบให้กับคนไทยทั้งชาติ กว่าจะได้สักเหรียญทองบางชนิดกีฬาใช้เวลาฝึกซ้อมมากกว่า 5 เดือนเพื่อมาเตรียมสู้ศึกที่เนปิดอว์ครั้งนี้ ยังไงก็ต้องติดตามกันต่อไปคะ สำหรับทัพนักกีฬาไทยที่อยู่เมียนมาร์ ก็ขอเพียง สู้ๆ และกำลังใจจากคนไทยคะ วันนี้ลากันไปก่อน พบกันใหม่โอกาสหน้า "มิงกะลาบา" คะ
 
เรื่อง - กรรณิการ์  ตระกูลสา 
ภาพ - จุลดิษฐ์ ปานเพียร 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook